เช็คลิสวิธีสร้างบทความให้เหมาะกับ SEO
จะสร้างบทความให้เหมาะกับ SEO อย่างไร วันนี้ผมมีเช็คลิสวิธีการมาฝากครับ โดยเนื้อหาจะไม่ได้เกี่ยวกับวิธีการเขียนบทความต้องเขียนอย่างไร แต่จะพูดถึงเมื่อคุณมีบทความแล้ว ควรจะลงบนเว็บไซต์อย่างไรเพื่อให้ถูกตามหลักการทำ SEO
คุณสามารถทำตามลำดับนี้ได้โดยผมจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ ขั้นตอนเตรียมบทความ, ลงบทความ ,การปรับแต่งบทความให้สวย และ การสร้างInternal / External link ให้บทความ โดยทั้ง 4 ขั้นตอนจะอยู่ในวิธีการสร้างบทความให้เหมาะสมกับ SEO
ขั้นตอนการเตรียมบทความ
ขั้นตอนนี้ให้คุณเตรียม 1 บทความ 1 โฟลเดอร์เลยครับ เพื่อความสะดวกในการเตรียมทั้งบทความและรูปที่จะใช้
เตรียมตัวไฟล์บทความ
เตรียมเนื้อหาไว้ล่วงหน้าก่อนที่คุณจะนำเนื้อหามาลงในเว็บไซต์ (เดี๋ยวเราจะมาลงรายละเอียดเรื่องการปรับแต่งเนื้อหาในขั้นตอน ลงบทความ )
เตรียมรูปภาพ
ให้คุณเตรียมรูปภาพที่จะใช้เป็นภาพประกอบทุกรูปลงในโฟรเดอร์ และทำการปรับแต่งดังนี้
- ชื่อไฟล์ เป็น ภาษาอังกฤษ ( จะได้ไม่ต้องซ้ำกับ Alt)
- ห้ามใส่ _ ในชื่อ
โดยคุณสามารถใช้ภาพจากเว็บไซต์ฟรีได้ที่
->Pixabay
->Unsplash
->Freepik
-> Pexels
หลังจากที่นำรูปมาใช้แล้ว อย่าลืมให้เครดิตเพื่อเป็นมารยาทด้วยนะครับ
ย่อขนาดทุกรูปที่ต้องใช้ทุกรูป ขนาดไม่เกิน 100 Kb
ขั้นตอนนี้สำคัญมาก หากคุณใช้รูปภาพขนาดใหญ่เกินไปจะทำให้หน้าบทความนั้นโหลดช้าได้
ว็บไซต์ที่ผมแนะนำคือ iLoveIMG โดยเราสามารถที่จะลดขนาดรูปภาพ และบีบอัดรูปภาพได้
วิธีการ
- ปรับขนาดรูปภาพที่ต้องการก่อน
- จากนั้นให้ทำการบีบอัดรูปภาพอีกที
ขั้นตอนการลงบทความ
- ตั้งค่าหัวข้อด้วย H2และ H3
โดยหัวข้อให้เน้นมีคำคีย์เวิร์ดที่เราต้องการให้อยู่ในหัวข้อด้วย โดยความสำคัญของ Head ทั้ง 2 คือ
H2 = ใช้กับหัวข้อที่สำคัญ และเราต้องการเน้นคีย์เวิร์ด
H3 = หัวข้อย่อยที่ไม่ได้สำคัญ ไม่จำเป็นต้องเน้นคีย์เวิร์ด
เช็ค KW ผ่าน Rank Math
หากปรับทั้งบทความ หัวข้อ และ Head ต่างๆแล้ว ทีนี้เราจะใช้เครื่องมือ Rank Math เพื่อตรวจสอบว่าบทความนี้ได้ให้ความสำคัญกับคีย์เวิร์ดที่เราต้องการหรือไม่
โดยให้เราใส่คีย์เวิร์ดที่เราจะใช้ลงไปในช่อง Focus Keyword จากนั้นโปรแกรมจะทำการให้คะแนนคีย์เวิร์ดที่อยู่ในบทความนี้ โดยหลักๆให้ได้คะแนนสีเหลืองก็ถือว่าเพียงพอแล้วครับ
ส่วนตัวผมชอบใช้ Rank Math ในการทำSEO เพราะRankmath สามารถเช็คภาษาไทยได้ (หรือถ้าใครถนัด Yoash ก็สามารถใช้ตัวนี้ได้เช่นกันครับ)
Edit snippet
คือส่วนที่จะให้เราตั้งค่าข้อมูลทั้ง Title, Permalink และ Description ของบทความให้ Google รู้
โดยในส่วนของ Permalink ผมแนะนำให้ตั้งเป็นภาษาอังกฤษ เพราะหากคุณตั้งเป็นภาษาไทยเวลานำลิงค์ไปแปะไว้ที่อื่นจะได้ภาษาเอเลี่ยนออกมา
และในปัจจุบันการใช้ Permalink ภาษาไทย ถือว่าไม่มีผลกับ SEO (อย่างที่หลายคนเข้าใจ) หากคุณจะใช้ภาษาอังกฤษก็ได้เหมือนกันครับ
ส่วน Description ให้ใส่เป็น ภาษาไทยได้เลยครับ หรือจากบทความนี้ Rank math ก็จะยกคำขึ้นต้นในบทความมาใส่แทน หากเราไม่ได้กำหนด Description
- Title หัวบทความ (kw ควรอยู่ส่วนแรกๆ)
- Description คำอธิบายบทความ (kw ไม่ต้องติดกันได้ เน้นอ่านง่ายก่อน)
- Permalink ใส่ลิ้งค์ให้URL (ภาษาอังกฤษเท่านั้น สั้นๆ)
Future image(หน้าปก)
ใส่รูปภาพหน้าปกของเราที่เตรียมเอาไว้(อย่าลืมปรับขนาดและชื่อภาพให้เรียบร้อยนะครับ)
จากภาพจะเห็นว่าขนาดปกที่ผมใส่คือ 82 Kb ให้ต่ำกว่า 100 kb ถือว่ารูปไม่หนักไป แต่ถ้าให้ไฟล์รูปเล็กลงกว่านี้ก็จะดีมากครับ
- Alt Text ให้ใส่คีย์เวิร์ดภาษาไทยที่เราต้องการจะเน้น
- Title เป็นภาษาอังกฤษ จะได้ตรงตามที่เราเตรียมมาไว้แต่แรก
ปรับแต่งบทความให้สวยงาม
ใส่รูปที่เราเตรียม
โดยรูปที่เราเตรียมไว้ก็จะเป็นชื่อภาษาอังกฤษ จากนั้นให้เราใส่ Alt text เป็นคีย์เวิร์ดภาษาไทย(อย่าใส่ Alt ซ้ำกับรูปอื่น เพื่อจะไม่ให้ Google ดูเป็นสแปมเกินไป)
วิธีการ
กด Add block หรือเครื่องหมายบวกตรงระหว่าง block จากนั้นให้กด Image
จากนั้นจะเลือก Upload หรือ Media Library ใส่ภาพที่เราเตรียมมาทั้งหมดไว้ทีเดียวก็ได้ ตกแต่งบทความด้วยรูปภาพที่เตรียมมาทั้งหมดเป็นอันเสร็จ
ใส่วีดีโอจากยูทูป
โดยให้เนื้อหานั้นตรงกับบทความที่เราเขียน หรือเนื้อหาที่เรายกมาเป็นเฉพาะหัวข้อนั้นก็ได้ หรือใช้วีดีโอของเราที่เตรียมมา สิ่งที่ควรระมัดระวังคือการนำคลิปของคู่แข่งในธุรกิจเดียวกันมาใช้
วิธีการ
กด Add block หรือเครื่องหมายบวกตรงระหว่าง block จากนั้นพิ่มค้นหา Youtube หรือเลื่อนลงมาที่เมนู Embeds ก็ได้ จะเจอยูทูป จากนั้ันคุณสามารถใส่ลิ้งค์ช่องที่ต้องการจะนำมาลงได้เลย
ใส่สีให้ตัวอักษร
เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับบทความ และเน้นจุดที่เราต้องการ
วิธีการ
คลิกที่ Block ที่เราต้องการปรับแต่งสี จากนั้นเลื่อนมาทางขวาในช่อง Color setting จากนั้นเลือก Text และ Background Color ที่ต้องการ
สร้าง Internal link และ External link ให้บทความ
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญในมุมของการทำ On-page และช่วยเสริมพลังให้กับการทำ Keyword map(ไว้จะมาอธิบายเรื่องนี้ให้ฟังนะครับ)
Internal link (ลิงค์ในเว็บไซต์)
ใส่ Linktext ลงไปในคีย์เวิร์ดหลักที่เราต้องการในบทความ เช่น “บริษัทกำจัดปลวก” -> ใส่ลิงค์หน้าที่กำหนดไว้
- ใส่ลิงค์หน้าหลักของเว็บไซต์ และใส่ลิงค์หน้ารอง
- โยงลิงค์เข้าในส่วนของบทความอื่นได้ เพื่อให้เกิดการเปิดหลายหน้า(ดีต่อมุมมอง SEO)
External link(ลิงค์นอกเว็บไซต์)
- กำหนดลิงค์เว็บไซต์อื่น ที่ไม่ใช่คู่แข่ง
- สามารถใส่เป็นคลิปวีดีโอได้ โดยเป็นคลิปจากยูทูปเท่านั้น และต้องไม่ใช่ของคู่แข่ง