กลยุทธ์การแข่งขัน

กลยุทธ์การตลาดแบบแข่งขัน คืออะไร ใช้ยังไงให้ธุรกิจแข็งแกร่ง

กลยุทธ์การตลาดเปรียบได้กับยุทธศาสตร์ทางการทหารเวลาที่กองทัพออกรบ และแน่นอนว่าความดุเดือดของการแข่งขันในสนามที่เราเรียกว่า “โลกจริง” ที่ธุรกิจหลายเจ้าต่างฟาดฟันกันก็ไม่ได้ต่างมากนัก ดังนั้นแล้วกลยุทธ์การตลาด คือ สิ่งสำคัญดัง “หางเสือ” ที่กำหนดทิศทางของการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน แล้วการสร้างกลยุทธ์สามารถทำได้อย่างไรบ้าง มาดูกัน

เมื่อบทความที่แล้วเราพูดถึงกลยุทธ์ 5F ซึ่งผู้คิดค้นคือ Michael E. Porter โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงกลยุทธ์การแข่งขัน หรือ Competitive Strategy ที่มาจากหนังสือของ Michael E. Porter ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดที่น่าสนใจอย่างมาก

หนังสือ Competitive Strategy ถูกวางจำหน่ายเมื่อปี ค.ศ. 1998

เนื้อหาของกลยุทธ์การแข่งขันนั้นพูดถึงว่าเราควรที่ใช้กลยุทธ์อะไรในการแข่งขันกับตลาด โดยประเมินจากขนาดธุรกิจและอันดับของบริษัทเราในแวดวงอุตสาหกรรมก่อน จากนั้นจึงนำกลยุทธ์เหล่านี้มาใช้

  • ประเภทธุรกิจในกลยุทธ์การตลาดแบบแข่งขัน
  • ข้อดีของการทำกลยุทธ์การตลาด

กลยุทธ์การตลาดแบบแข่งขัน มีอะไรบ้าง?

  • กลยุทธ์การตลาด ด้านการเป็นผู้นำต้นทุน (Cost Leadership Strategy) 

โดยการทำธุรกิจที่มุ่งให้ต้นทุนต่ำที่สุดเพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง ซึ่งจะทำให้เราสามารถขายสินค้าได้ในราคาที่ถูกในปริมาณที่มาก เป็นการตัดราคาคู่แข่งไปในตัว โดยกลยุทธ์การตลาดแบบนี้จะใช้กับเฉพาะธุรกิจที่อยู่ในอันดับต้น ๆ ของอุตสาหกรรม  เพราะสามารถครองทรัพยากรจำนวนมากได้นั่นเอง 

(ย้อนดูหลักการใช้กลยุทธ์สำหรับธุรกิจใหญ่ด้วย “กฎของแลนเชสเตอร์”)

  • กลยุทธ์การตลาด สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)

กลยุทธ์การตลาดนี้จะเน้นเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและบริการเพื่อให้สร้างความแตกต่างหรือโดดเด่นกว่าเจ้าอื่น ๆ ยกตัวอย่างแบรนด์เสื้อผ้า เช่น Zara คอนเซ็ปต์คือ “ความเร็ว” ซึ่งเขาก็มี Designer เป็นของตนเองจึงสามารถผลิตและจำหน่ายคอลเลคชั่นใหม่ ๆ ได้เสมอ  

  •  กลยุทธ์การตลาดแบบเจาะจง (Focus Strategy) 

กลยุทธ์การตลาดแบบนี้จะเน้นตลาดเฉพาะกลุ่มหรือ Niche Merket นั่นคือการลงไปในตลาดที่แยกย่อยลงไปอีก ยกตัวอย่างเช่น สินค้ารองเท้า ก็จะแบ่งย่อยลงไปเป็นกลุ่มกีฬา คือ แบรนด์ Nike ที่จะเน้นเป็นรองเท้าวิ่ง หรือ รองเท้าของ Skechers ที่เน้นใส่เดินสบายดีต่อสุขภาพ ก็จะเป็นตลาดของคนรักสุขภาพ ซึ่งจะไม่อยู่ในโซนกีฬา เป็นต้น

รู้จักประเภทธุรกิจเพื่อเลือก กลยุทธ์การตลาด

หากยังไม่แน่ใจว่าจะนำกลยุทธ์การตลาดใดมาปรับใช้ เรามีวิธีเพิ่มเติมโดยสามารถแบ่งประเภทของธุรกิจออกมาได้ 4 ประเภท ได้แก่ ผู้นำ, ผู้ท้าทาย, ผู้ตาม และผู้เจาะตลาดกลุ่มเฉพาะ  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ธุรกิจแบบผู้นำ (Market Leader Strategy)

  • ส่วนแบ่งตลาด: อันดับ 1 ของตลาด
  • กลยุทธ์การตลาดที่ใช้: ผลิตสินค้าจำนวนมากและหลากหลาย (Cost Leadership Strategy) 
  • การพัฒนา: ขายผลิตภัณฑ์ที่เข้าถึงคนหมู่มาก
  • การผลิต:  ผลิตจำนวนมากเพื่อลดต้นทุนให้ต่ำที่สุด
  • การจัดจำหน่าย: ใช้ทุนและส่วนแบ่งตลาดที่มีมาช่วยให้กระจายสินค้าได้อย่างกว้างขวาง
  • ตัวอย่างธุรกิจ: Apple ซึ่งกลยุทธ์การตลาดของ Apple จะเน้นพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ นำหน้าแบรนด์อื่น ๆ ในตลาดเดียวกันอยู่เสมอ

ธุรกิจแบบผู้ท้าทาย (Challenger Strategy)

  • ส่วนแบ่งตลาด: อันดับ 2 ของตลาด
  • กลยุทธ์การตลาดที่ใช้: สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)
  • การพัฒนา: สร้างความแตกต่างเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้า
  • การผลิต:  แข่งขันด้วยความโดดเด่นและคุณภาพของสินค้า ถึงแม้จะต้องเพิ่มต้นทุนขึ้นเล็กน้อยก็ตาม
  • การจัดจำหน่าย: คอยมองหาช่องทางใหม่ ๆ ในการจัดจำหน่ายสินค้า และพยายามบุกเบิกตลาดต่อไป
  • ตัวอย่างธุรกิจ: Netflix ซึ่งเป็นตัวอย่าง กลยุทธ์ด้านการบริการแบบท้าทายที่ชัดเจนมาก เพราะความนิยมของคนที่ดูหนังผ่านร้านเช่าวิดีโอในอดีตนั้นแทบจะเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมายาวนาน แต่ Netflix ก็กล้าท้าทายและกลายเป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งขนาดใหญ่ของโลกจนถึงทุกวันนี้

ธุรกิจแบบผู้ตาม (Follower Strategy)

  • ส่วนแบ่งตลาด: อันดับ 3-5 ของตลาด
  • กลยุทธ์การตลาดที่ใช้: ตามกระแส
  • การพัฒนา: ปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามกระแสนิยมในปัจจุบัน
  • การผลิต:  ขายสินค้าที่มีคุณภาพสมควรกับราคา
  • การจัดจำหน่าย: เลือกช่องทางจัดจำหน่ายเฉพาะและหมั่นใช้กลยุทธ์ส่งเสริมยอดขาย
  • ตัวอย่างธุรกิจ: Daniel Wellington แบรนด์นาฬิกานี้ประสบความสำเร็จในการใช้การตลาดแบบผู้ตาม โดยร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์เพื่อโปรโมตผลิตภัณฑ์ของตน สามารถเข้าถึงผู้ชมในวงกว้างและเพิ่มการรับรู้ถึงแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ธุรกิจแบบผู้เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม

  • ส่วนแบ่งตลาด: อันดับท้าย ๆ ของตลาด
  • กลยุทธ์การตลาดที่ใช้: มองหาช่องว่างที่มีอยู่ในตลาด
  • การพัฒนา: ดึงดูดลูกค้าด้วยผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
  • การผลิต:  ผลิตจำนวนน้อย แต่เน้นสินค้าที่ตลาดเฉพาะกลุ่มซื้อแน่นอน
  • การจัดจำหน่าย:  ใช้ช่องทางเฉพาะที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เจาะจงที่สุด
  • ตัวอย่างธุรกิจ: Hello Kitty เป็นแบรนด์ตัวการ์ตูนจากญี่ปุ่นที่เน้นตลาดกลุ่มคนรักการ์ตูนและสิ่งของน่ารัก แบรนด์นี้มีสินค้าหลากหลายรูปแบบ เช่น เครื่องเขียน, เสื้อผ้า, และของเล่น 

สำหรับกลยุทธ์การตลาดการแข่งขัน คุณสามารถนำไปปรับใช้กับองค์กรและควบคู่กับกลยุทธ์ต่าง ๆ ได้ จะยิ่งทำให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว

แต่หัวใจสำคัญคือ คุณต้องเลือกใช้กลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสมและตอบโจทย์กับธุรกิจของตัวเองให้มากที่สุด เพราะนอกจากจะทำให้ธุรกิจแข็งแกร่งแล้ว ยังมีข้อดีต่าง ๆ มากมายดังนี้

(อยากวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของธุรกิจให้ขาด ต้องอ่าน: SWOT วิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกของบริษัทและตัวเรา)

ข้อดีจากการเลือกกลยุทธ์การตลาดอย่างเหมาะสม

เพิ่มการมองเห็นแบรนด์ (Brand Awareness)

กลยุทธ์การตลาดที่ออกแบบมาอย่างดีสามารถช่วยเพิ่มการมองเห็นและการรับรู้แบรนด์ของคุณในหมู่กลุ่มเป้าหมาย ด้วยการเข้าถึงผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าผ่านการโฆษณาที่ตรงเป้าหมาย แคมเปญโซเชียลมีเดีย และช่องทางการตลาดอื่น ๆ 

ตัวอย่างกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ เช่น การทำคอลแลปส์กันระหว่าง KFC กับ Swensen’s ที่ออกเมนูไอศกรีมไก่ทอดออกมา หลังจากภาพแอดถูกแชร์ไปทั่วโซเชียล รวมถึง Content Creator จำนวนมากก็ไปรีวิวไอศกรีมไก่ทอดกันเป็นจำนวนมาก ทำให้ยอดขายของเมนูนี้พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

(ห้ามเลื่อนผ่าน ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบสร้างคอนเทนต์ แต่หัวตัน ไอเดียไม่ไหล แนะนำให้อ่าน: 6 ไอเดียนี้)

การมีส่วนร่วมของลูกค้าสูงขึ้น

กลยุทธ์การตลาดที่ดีช่วยให้ธุรกิจของคุณมีส่วนร่วมกับลูกค้ามากขึ้น ด้วยการทำความเข้าใจความต้องการและความชอบของพวกเขา คุณสามารถปรับแต่งข้อความทางการตลาดและแคมเปญของคุณให้ตรงใจพวกเขาได้ สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การมีส่วนร่วมของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นและท้ายที่สุดคือยอดขายและความพึงพอใจของลูกค้าที่สูงขึ้นตามไปด้วย

ตัวอย่าง กลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์ของ Coca-Cola ที่ออกกระป๋องที่มีชื่อคนออกมา แล้วทำโฆษณาเกี่ยวกับการแชร์โมเมนต์ระหว่างบุคคล มันทำให้ยอดขายของโค้กพุ่งสูงขึ้นมาก ๆ เพราะคนมีความสนใจในตัวกระป๋องที่มีชื่อคนมากขึ้น พวกเขาสงสัยว่าจะมีชื่อตัวเองไหม รวมถึงเมื่อเจอเป็นชื่อเพื่อนหรือคนรักก็มักจะซื้อมาฝากพวกเขาด้วย ทำให้ตอนนั้นกลยุทธ์การตลาดนี้ประสบความสำเร็จมาก ๆ 

ปรับปรุงสินค้าและบริการให้ดีขึ้นได้ง่ายกว่า

กลยุทธ์การตลาดที่กำหนดไว้อย่างดีช่วยให้คุณระบุและกำหนดเป้าหมายลูกค้าในอุดมคติของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการวิเคราะห์การวิจัยตลาด ข้อมูลประชากร และพฤติกรรมของลูกค้า (Persona) โดยคุณสามารถระบุกลุ่มลูกค้าที่ทำกำไรได้มากที่สุดและปรับแต่งการทำการตลาดให้ตรงตามความต้องการเหล่านั้นได้ง่ายกว่าการไม่มีการปรับกลยุทธ์ การตลาด ซึ่งปัจจุบันการทำ Data Driven Marketing ก็มีส่วนช่วยอย่างมากในการปรับปรุงและพัฒนาสินค้าของแบรนด์ใหญ่ระดับโลก

ความได้เปรียบทางการแข่งขัน

กลยุทธ์การตลาดที่สร้างขึ้นมาอย่างพิถีพิถันสามารถช่วยให้คุณได้เปรียบในการแข่งขันในตลาด ด้วยการทำให้แบรนด์ของคุณแตกต่างจากคู่แข่งและเน้นจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์ คุณสามารถวางตำแหน่งธุรกิจของคุณให้เป็นตัวเลือกที่ต้องการของลูกค้าได้

ตัวอย่างเช่นกลยุทธ์ การตลาดของ TikTok ที่นับเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์เจ้าแรก ๆ เลยที่เลือกทำเป็น Short Video แทนที่จะเป็นรูปภาพ ข้อความ หรือโพสต์ข่าวต่าง ๆ ด้วยความโดดเด่นนี้เองอาจทำให้ช่วงแรก ผู้คนอาจจะยังไม่ได้ให้ความสนใจและความนิยมมากนัก แต่ไม่นานนัก TikTok ก็กลายเป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก 

หรือกลยุทธ์ การตลาด ของสตาร์บัค ธุรกิจคาเฟ่ที่ให้ความรู้สึกหรูหราทุกครั้งที่เข้าไปใช้บริการ แต่ในปัจจุบันภาพลักษณ์เหล่านั้นของ Starbuck อาจจะถูกแทนที่เป็นความสบายใจของลูกค้ามากขึ้นด้วย เพราะแบรนด์ Starbuck เลือกที่จะยอมให้ลูกค้าได้ใช้เวลานั่งทำงานหรือนั่งคุยงานภายในร้านมากกว่าร้านอื่น ๆ ซึ่งมันเป็นความโดดเด่นและแตกต่างจากร้านกาแฟทั่วไปมาก

(หากคุณรู้สึกได้ถึงความท้าทาย จนอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ขอให้อ่าน: เริ่มต้นธุรกิจด้วย 3M Model แล้วคุณจะรู้สึกขอบคุณตัวเองที่ไม่เลื่อนผ่าน)

ทั้งนี้การเตรียมความพร้อมและการศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจและตลาดของคุณจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนและใช้กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสม เพื่อประสบความสำเร็จในธุรกิจของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือคุณอาจเลือกใช้ Funnel.in.th! บริการรับทำ SEO มาทำหน้าที่นี้แทน เรารับทำ SEO ด้วยกลยุทธ์แบบฉบับมือโปร พร้อมทั้งสร้าง Content ที่ทำให้คุณสัมผัสพลังของข้อมูลที่จับต้องได้ เพื่อการวางแผนที่แม่นยำและผลลัพธ์ที่วัดผลได้ เราจึงทำงานตามหลัก EEAT และ YMYL ที่จะช่วย SEO ของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อสร้าง Traffic หลักแสนและพลิกโฉมธุรกิจของคุณสู่ความสำเร็จวันนี้!

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

กลยุทธ์ การตลาด ของ Facebook คืออะไร

กลยุทธ์การตลาดของ Facebook เป็นกลยุทธ์แบบผู้นำ ที่เริ่มต้นสร้างสิ่งใหม่ก่อนแพลตฟอร์มอื่นเสมอ เช่น บริการการโฆษณาแบบกำหนดเป้าหมาย การสร้างชุมชน  การตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ เป็นต้น

กลยุทธ์ การตลาด Index Living Mall คืออะไร

กลยุทธ์การตลาดจะเกี่ยวข้องกับการนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพที่หลากหลายในราคาที่แข่งขันได้ การมีส่วนร่วมกับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ การตลาด ของ McDonald’s คืออะไร

แบรนด์ให้ความสำคัญกับความสะดวกสบายด้วยบริการแบบไดรฟ์ทรู การสั่งซื้อผ่านมือถือ และตัวเลือกการจัดส่งเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่วุ่นวายของลูกค้า

Similar Posts