pokosticking

Poko-Sticking คืออะไร? และส่งผลต่อ SEO อย่างไรบ้าง? ต่างจาก Bounce-rate อย่างไร?

  • Poko-sticking ส่งผลต่อSEOมากแค่ไหน?
  • ทำอย่างไรหากเกิดเหตุการณ์Poko-sticking

เมื่อมีคนเข้าเว็บไซต์เราจากการค้นหาบนกูเกิ้ล แล้วออก(ทันที)!  คำถามคือจะมีผลต่อSEOหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน? เหตุการณ์นี้เราเรียกว่าการเกิด Poko-Sticking  เราลองมาดูกันครับว่าส่งผลต่อ SEO แค่ไหน และมีวิธีแก้ไม่ให้เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ได้ยังไงบ้าง

Poko-Sticking คืออะไร

เจ้าตัว Poko-Sticking เกิดจากกรณีที่มีการค้นหาบนหน้ากูเกิ้ลและเข้าเว็บไซต์หนึ่งแล้วออกทันทีเพื่อไปเข้าอีกเว็บไซต์  เช่น ผมค้นหาคำว่าขายส่งหลอดไฟ ผมเข้าเว็บไซต์ A และผมเลื่อนดูเว็บไซต์อย่างรวดเร็วจนสุด ก็ออกมาที่หน้ากูเกิ้ลและเข้าสู่เว็บไซต์ B ต่อ 

ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์นี้

เหตุการณ์นี้จะเกิดได้จากกรณีที่ผู้ค้นหาเข้าในกูเกิ้ลและเข้าในเว็บไซต์ พอลองหาดูแล้วไม่เจอข้อมูลที่ต้องการจึงกลับออกมาเพื่อมาเข้ายังเว็บไซต์อื่นต่อ

Poko-Sticking แตกต่างจาก Bounce-rate ยังไง

อย่างที่บอกก่อนหน้านี้ว่ากรณี poko-sticking เกิดจากการเข้าเว็บไซต์ผ่านทางกูเกิ้ล(SERP) แล้วออกอย่างรวดเร็ว

ส่วน bounce-rate เกิดจากกรณีที่เข้าเว็บไซต์ไม่ว่าช่องทางไหนก็ตาม แล้วไม่มีการทำให้กับเว็บไซต์ เช่นกดหน้าต่อไป,กดดูวีดีโอ หรือกดดูอะไรก็ตาม แล้วออกจากหน้านั้น อันนี้จะมองเป็นการเกิด bounce-rate

ทำไมถึงเกิด poko-sticking

นั่นเพราะว่าเกิดจากการออกแบบหน้าเว็บไซต์หรือ UX ที่ไม่ดีพอทำให้ไม่สามารถดึงดูด User ที่เข้ามาได้ ส่งผลให้ผู้เข้าเว็บไซต์ผ่านทาง SERP ออกทันที หรืออาจจะเป็นเพราะว่าเนื้อหาภายในเว็บไซต์เป็นแบบ Click bait ก็ได้ 

หรืออีกกรณีที่เกิดบ่อยคือ มีแบนเนอร์มาบังจนทำให้ผู้เข้ามากดออก เพื่อที่จะไม่ให้แบนเนอร์สร้างความรำคาญ

Website loads slowly and then shows pop-up

Poko-Sticking ส่งผลต่อ SEO หรือไม่ 

เมื่อไม่กี่ปีก่อน John Mueller ได้ออกมาบอกในทวิตเตอร์ถึงว่าการเกิด poko-sticking นั้นยากที่จะเอามาใช้ในการจัดอันดับได้  ดังนั้นคนทำ SEO จึงไม่ต้องกังวล 

We try not to use signals like that when it comes to search. So that’s something where there are lots of reasons why users might go back and forth, or look at different things in the search results, or stay just briefly on a page and move back again. I think that’s really hard to refine and say ‘well, we could turn this into a ranking factor.’

So I would not worry about things like that. When we look at our algorithms overall, when we review which algorithm changes that we want to launch, we do look into how users react to these changes. But that’s something we look at across millions of different queries, and millions of different pages, and kind of see in general is this algorithm going the right way or is this algorithm going in the right way.

But for individual pages, I don’t think that’s something worth focusing on at all.

John Mueller

หรือแม้แต่เรื่องของ Bounce-rate ทาง John Mueller ก็เคยออกมาพูดถึงเรื่องนี้เช่นเดียวกัน แต่ก็ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่

ส่วนตัวผมมองว่าถ้าเป็นในส่วนของ Poko-sticking นั้น  การเกิดเหตุการณ์นี้มีหลายกรณีมาก อาจจะมีผลกับ SEO ทางอ้อมก็ได้ แต่คงไม่ต้องกังวลมากนัก  ส่วนในมุมธุรกิจอันนี้น่าเป็นห่วงครับ เพราะการที่เราได้คนเข้าเว็บไซต์จาก Keyword แปลว่านั่นคือลูกค้า และหากเราเสียลูกค้าไปจากการเกิด poko-sticking อันนี้ไม่ดีแน่

วิธีแก้ปัญหาการเกิด Poko-Sticking

วิธีการแก้ปัญหาคือการใช้ทั้งด้าน Sale page Markeing และการทำ Content intent ควบคู่กัน  เช่น มีหัวข้อที่น่าสนใจ มีวิธีโอให้ดู  มีสินค้าที่ตรงกับการค้นหา  มี FAQ ตอบคำถามที่ลูกค้าสงสัยและทำเป็น Toggle ให้ลูกค้ากด(อันนี้ดีมากครับผมลองมาแล้ว) 

เพราะสุดท้ายเป้าหมายของเราก็คือการทำให้เกิด Conversion, ปิดการขาย หรือสร้างรายได้ให้ได้ ดังนั้นแม้เรื่องนี้จะไม่ได้ส่งผลต่อ SEO แต่ส่งผลกับยอดขายของเราแน่นอนครับ

อ่านเพิ่มเติม https://ahrefs.com/blog/pogo-sticking/

Similar Posts