SERP Feature

รู้จัก Google SERPs Feature ก่อนทำ SEO และ Google มีฟีเจอร์อะไรบ้าง?

สำหรับบทความนี้เราจะมาเจาะลึกกันว่า “Google SERPs feature” คืออะไร มีกี่แบบ และสามารถให้ประโยชน์กับเว็บไซต์ของเราในด้านไหนได้บ้างหากเราทำให้คอนเทนต์ของเราติดบน Google SERPs ได้

  • Google SERPs Feature คืออะไร?
  • อยากรู้จัก Google SERPs Feature ต้องเริ่มจากอะไร?

Google SERPs Feature คืออะไร

ก่อนที่จะไปเรื่อง SERP feature เรามาทำความเข้าใจกับคำว่า “SERP” กันก่อนครับ

คำว่า SERP ย่อมาจาก Search Engine Results Page.

โดยใน SEO จะหมายถึงการแสดงผลข้อมูลที่มาจากการค้นหา ที่แสดงผลจาก “Keyword” ที่เราพิมพ์ยกตัวอย่าง เมื่อผมพิมพ์คำว่า “Arnold” ในความหมายของ SERP. ก็จะหน้าตาแบบนี้

จะเห็นว่าของมูลที่เราพิมพ์คำว่า “Arnold” ได้ถูกตีความเป็นหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลประวัติ (ด้านซ้ายมือ), รูปภาพ, คลิปวีดีโอ และข้อมูลการค้นหาทั่วไป. ทั้งหมดนี้คือนิยามของคำว่า “SERP” ครับ.

อย่างที่เห็นว่าเมื่อเราพิมพ์คีย์เวิร์ดคำที่ต้องการจะถูกตีความหมายได้หลายรูปแบบ (จากตัวอย่าง ทั้งประวัติ, รูปภาพ หรือวีดีโอ) ทั้งหมดโดยรวมนี้เราเรียกว่าเป็น Feature ของ SERP หรือคำทับศัพท์ที่ฝรั่งเรียกเต็มๆนั่นก็คือ “SERP Feature” ครับ

ถ้าไม่มี Google SERPs Feature จะเป็นอย่างไร?

จริงๆ เราเคยอยู่ในยุคที่ไม่มีการใช้งานตัว Google SERPs Feature มาแล้ว ย้อนกลับไปปี 2009 ในยุคที่ยังไม่มีฟีเจอร์นี้ หากใครยังทัน เวลาคุณทำการค้นหาผ่าน Google. คงเคยเห็นหน้าตาแบบนี้

โดยฟังก์ชั่นในสมัยนั้นก็จะมีแค่ Cache กับ Google Scout ผ่านมาหลายปีเมื่อมองย้อนกลับไปคุณจะเห็นว่าระบบของ Google พัฒนามาไกลมากในด้านการค้นหา (และโดยเฉพาะในเรื่องการทำ SEO ก็มาไกลมากเหมือนกัน)

สถิติ Google SERPs Feature ปี 2023

ข้อมูลนี้ผมนำมาจากบทความบางส่วนของ Backlinkgo ที่ยกการวิจัยคีย์เวิร์ดจำนวนมากถึง 306 ล้าน คีย์เวิร์ด เพื่อให้เข้าใจสถิติการใช้งาน Google Search มากยิ่งขึ้น โดยผมจะขอยกข้อมูลเฉพาะแค่ในเรื่องของ Google SERPs Feature บางส่วนมาในบทความนี้ครับ

  1. เมื่อคุณค้นหา เป็นเรื่องปกติมากที่คุณจะพบกับคุณสมบัติ SERP มีเพียง 2.4% ของผลการค้นหาทั้งหมดของ Google ที่ไม่มีคุณลักษณะ SERP (แปลว่าเมื่อค้นหา มีโอกาสเจอถึง 97.5%)
  2. ฟีเจอร์ที่ถูกแสดงบ่อยคือ People Also Ask (19.5%), image packs (19.4%), video results (17.9%) and Top Stories (15.5%).

People also ask, image packs, video
ถูกนำมาแสดงบนการค้นหาบ่อยที่สุด

จากสถิตินี้ สามารถบอกอะไรเราได้บ้าง?

อย่างแรก Google มีการพัฒนาในเรื่องของการค้นหา เพื่อให้ในแต่ละการค้นหานั้นตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

อย่างที่สอง ในเรื่องของการทำ SEO เมื่อรู้ในระบบ SERP Feature ของ Google แล้ว ในมุมของการทำ SEO เราควรที่จะมอง keyword ที่เราทำว่าลักษณะข้อมูลแบบใด ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายบ้าง เพื่อที่เราจะนำเสนอข้อมูลในแต่ละองค์ประกอบให้เข้าถึงกลุ่มผู้ค้นหาได้ดีที่สุดครับ (เช่น นอกจากบทความ คุณอาจสร้างคลิปวีดีโอดีๆ ขึ้นมาอีก 1 อย่าง เพื่อครอบคลุมกับคีย์เวิร์ดที่คุณทำ)

Feature ของ SERP ทั้งหมด มีอะไรบ้าง

โดยฟีเจอร์ทั้งหมดของ Google SERPs Feature นั้นมีอยู่ 16 รูปแบบ

Feature Snippet (Instant Answer)

คือการแสดงข้อมูลที่เราค้นหาอย่างทันที โดยที่ตัว Feature Snippet นี้จะนำข้อมูลของ Rank อันดับ 1 มาแสดงข้อมูลเป็นรูปแบบ Text ให้ดูโดยทันที

Local Pack

คือการแสดงข้อมูลในรูปแบบพิกัดที่ตั้งจากแผนที่ของ Google map โดยฟีเจอร์นี้จะแสดงการค้นหาในกลุ่มของสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงงาน ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า หรือปั๊มน้ำมัน

โดยข้อมูลที่นำขึ้นมาแสดง จะเน้นที่รีวิวไล่จากเยอะที่สุดก่อน. เรียกได้ว่าใครทำรีวิวบน Google map คะแนนที่ดี จะสามารถดันอันดับบน Google ได้เช่นเดียวกัน

และในการค้นหาสถานที่ เราสามารถใส่ข้อความเพื่อระบุเพิ่มเติมได้เช่น “ใกล้ฉัน” “ใกล้ๆ” “ในเชียงใหม่” แล้วฟีเจอร์ Local Pack จะปรากฏขึ้นมานั่นเองครับ

Review

ลักษณะข้อมูลที่ปรากฏจะขึ้นเป็นลิงค์ URL พร้อมกับดาวเรตติ้ง. จะเป็นเรตติ้งตัวเดียวกันกับในส่วนของ Google map.

ในไทยปัจจุบันจะไม่ค่อยเจอฟีเจอร์นี้เด้งขึ้นมา. ส่วนตัวผมก็ยังไม่เคยเห็นในไทย ส่วนใหญ่จะขึ้นฟีเจอร์ Local Pack (หัวข้อก่อนหน้านี้) ขึ้นมามากกว่า

Sitelink

ข้อมูลของ Sitelink. จะปรากฎบนการค้นหาแบบ Organic เท่านั้น(คือไม่ใช่การซื้อโฆษณาผ่าน Google Ads) ลักษณะข้อมูลที่ขึ้นจะอยู่ใต้คำอธิบาย(description). เป็นลักษณะของลิงค์ที่อยู่ในหมวดหมู่ต่างๆ

โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาจากการวางทำ Index sitemap ภายในเว็บไซต์ หรือก็คือการวางโครงสร้างหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์. โดยยิ่งวางโครงสร้างง่าย จะทำให้บอทของ Google เก็บข้อมูลง่ายตามไปด้วย

ปัจจุบันมีฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาจาก Sitelink คือตัว Sitelinks Search Box. เพื่อใช้ในการหาข้อมูลต่างๆ ภายในเว็บไซต์นั้นได้

Video

ฟีเจอร์วีดีโอจะขึ้นเฉพาะกับการค้นหาแบบออแกนิคเท่านั้น โดยจะนำวีดีโอจากยูทูปที่เข้ากับการค้นหาเพื่อนำมาเป็นตัวประกอบการตัดสินใจให้กับผู้ใช้ว่าจะเลือกดูข้อมูลเป็นลักษณะของวีดีโอหรือไม่

Top stories

เป็นการนำเรื่องที่โดดเด่นที่สุดจากสิ่งที่เราค้นหา มักจะเป็นในรูปแบบข่าวสารประจำวัน หรือข้อมูลข้อมูลที่เป็นเชิงข่าวสาร

Images

เหมือนกับฟีเจอร์วีดีโอ ฟีเจอร์รูปภาพเป็นสิ่งที่ google มองว่าควรแสดงผลการค้นหาในรูปแบบรูปภาพถึงจะตรงใจกับผู้ค้นหามากที่สุด

โดยสำหรับการตั้งค่าบนเว็บไซต์ของเรา อย่างเช่น WordPress. เราสามารถตั้งชื่อการค้นหาจาก Alternative text เพื่อให้บอท Google รู้ว่ารูปภาพในเว็บไซต์ของเรามีคีย์เวิร์ดอะไร

Twitter

ด้วยความที่ Google และ Twitter เป็นพาร์ทเนอร์กัน ดังนั้นแน่นอนว่าจะต้องมี twitter เข้ามาอยู่ในฟีเจอร์ของ SERP ด้วยเช่นกัน โดยข้อมูลประเภท twitter. สามารถโชให้เราเห็นได้ทั้งจากการลงเข้าใช้งานทวิตเตอร์ หรืออาจไม่ได้ลงเข้าใช้งานก็สามารถเจอได้เหมือนกัน

knowledge Panel

Knowledge Panel จะแสดงให้เห็นเมื่อเราค้นหาในรูปแบบของ บุคคล สถาณที่สำคัญ หรือเหตุการสำคัญต่างๆ โดยข้อมูลที่กูเกิ้ลนำมาแสดงผลให้เราเห็นนั้นมาจาก Knowledge Graph ซึ่งเป็นข้อมูลดาต้าเบสของกูเกิ้ลที่รวบรวมข้อเท็จจริงจากแหล่งหลักๆอย่าง Wikipedia

FAQs

ลักษณะของ FAQs จะมีช่อง drop down อยู่ด้านล่างของคำอธิบาย(description) เป็นลักษณะของเชิงคำถามเพื่อให้ผู้ค้นหาได้พบคำตอบที่ต้องการอย่างรวดเร็ว. โดยหากต้องการที่จะเข้าใจในการทำ FAQs สามารถเข้าไปดูใน schema.org เพื่อเข้าใจเงื่อนไขของการสร้าง FAQs ให้กับเว็บไซต์ของเรา

People Also Ask (Related Questions)

ลักษณะของ people also aks ภาษาไทยคือ “และผู้คนยังถามถึง” (ฟังดูแปลกๆ) ดูภายนอกอาจคล้ายกับ FAQs แต่ข้อที่แตกต่างคือ อย่างแรกเราจะเห็นชุดคำถามเริ่มต้นด้วย 4 ชุดคำถาม จากนั้นเมื่อเรากดอาจมีคำถามอีกหลายชุดตามมา

อย่างที่สองความแตกต่างคือในแต่ละชุดคำถามนั้น คำตอบจะมาจากแต่ละแหล่ง (ถ้าเป็น FAQs ชุดคำตอบจะมาจากแหล่งเดียวกันหรือเว็บไซต์เดียวกัน)

ในส่วนของการแสดงผลโดยปกติจะแสดงผลในส่วนด้านบน หรือบางครั้งเราอาจเห็นการแสดงผลที่อยู่ตรงกลางได้และการให้คำตอบในลักษณะของฟีเจอร์ จะเป็นการนำคนเข้าเข้าอ่านในเว็บไซต์ต่อ (ต่างจาก FAQs ที่จะเน้นให้คำตอบทั้งหมดผ่านการคลิกอ่านในช่อง Drop drown)

Google Flights Block

ข้อมูลที่แสดงผลนั้นมาจาก Google Flights โดยจะแสดงผลเมื่อเราค้นหาเที่ยวบินต่างๆ ส่วนตัวผมใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์นี้บ่อยมาก เพราะง่ายต่อการค้นหาเพื่อเช็ครอบบินสำหรับเที่ยวบินในรอบต่างๆ(หลังจากนั้นก็ค่อยไปดูราคาของแต่ละแอพอีกที)

Hotel Pack

ข้อมูลในการค้นหาโรงแรมนั้นมากจากการทำ google my business ของกลุ่มโรงแรมที่ต้องใส่รายละเอียดธุรกิจเข้าไป จากนั้นกูเกิ้ลจะนำข้อมูลดังกล่าวพร้อมทั้ง ราคา รีวิว ตำแหน่งสถาณที่ มาให้กับพวกเราที่เป็นกลุ่มลูกค้า เมื่อเราค้นหาคำว่า “โรงแรม” ในสถาที่ที่เราต้องการหาข้อมูล

Job Listings

ข้อมูลประเภท job listings จะแสดงเมื่อมีการค้นหาเกี่ยวกับ”งาน”หรือ”การหางาน” โดยข้อมูลนี้จะมากจากแหล่งเว็บไซต์สมัครงานต่างๆที่ทำข้อมูลให้ Google รู้ หากเราต้องการให้ Google สามารถหาข้อมูลและวิธีการจาก JobPosting ได้ครับ

Paid Results

ต่อมาจะเป็นฟีเจอร์ที่เป็นลักษณะเสียเงิน ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่แบบที่แสดงผลบน SERP

Search Ads

ลักษณะของ Search Ads คือจะอยู่ด้านบนสุด 4 อันดับแรก (มีในส่วนของด้านล่างการค้นหาด้วย) และจะมีคำว่า โฆษณา แสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์นี้มาจากการทำโฆษณา

หลายคนที่ผมได้พูดคุย เข้าใจผิดเกี่ยวลักษณะของอันดับที่มาจาก SEO และ Search Ads. สำหรับใครที่ยังงงอยู่ เดี๋ยวผมอธิบายให้เข้าใจง่ายๆให้ฟังครับ

จากภาพด้านบนคุณจะสังเกตคำว่า โฆษณา ที่ปรากฏอยู่ด้านหน้า นั่นแปลว่าอันดับการค้นหาด้านบนสุดนั้นคือการทำ PPC หรือ Pay Per Click. ความหมายคือ เมื่อคุณทำโฆษณาและมีคนคลิกเข้าไปดู Google จะเก็บเงินจากการคลิก 1 ครั้ง

ส่วนอันด้านล่างที่เป็นสีเขียว เป็นการแสดงผลเว็บไซต์ที่ขึ้นตามการจัดอันดับ เรียกว่า SEO (Search engine optimization) ประมาณนี้ครับ

Shopping Ads (Product Listing Ads)

ฟังก์ชั่นนี้จะปรากฏขึ้นเมื่อค้นหาในรูปแบบของสินค้า. โดยกูเกิ้ลจะนำข้อมูลมาจากการทำโฆษณาบน Google Ads ซึ่งจะเป็นฟังก์ชั่น Shopping Ads ที่อยู่ในตัว Google Ads

สรุป

สุดท้ายนี้เมื่อเรารู้จัก Google SERPs Feature แล้ว เราสามารถที่จะสร้างคอนเทนต์บนเว็บไซต์เผื่อให้ถูกหลักการของ SERP และขยายหลายช่องทางได้มากขึ้น เพื่อให้เว็บไซต์ของเราครอบครุมต่อการค้นหาให้ได้มากที่สุด ไม่นาน Traffic จำนวนมากพร้อมกับกลุ่มลูกค้าจะตามมาเองครับ

Similar Posts